ค้นหาบล็อกนี้

Translate

รายการบล็อกของฉัน

แฟนการ์ตูน คลิกที่รูปภาพเพื่อนกดไลท์

วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2555

Apple vs Samsung : เมื่อยักษ์ดิจิทัลรบกัน


เมื่อเดือนเมษายนปีที่แล้ว (พ.ศ. 2554) เกิดคดีฟ้องร้องที่สหรัฐอเมริกาที่ถือได้ว่าเป็นเรื่องใหญ่แห่งปีเลยทีเดียวสำหรับวงการไอที

 ไม่ว่าจะเป็นหนังสือหรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ยารักษาโรค รวมไปถึงเครื่องมือสื่อสารที่เป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันนี้สินค้าเหล่านี้ได้รับความคุ้มครองภายใต้กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาทั้งสิ้นที่บริษัท Apple  ในยุคปัจจุบันเป็นยุคที่ปฏิเสธไม่ได้ว่า ความคุ้มครองทางทรัพย์สินทางปัญญา ได้เข้ามามีบทบาทอย่างมากในสินค้าเกือบทุกชนิด ที่ถูกวางขายอยู่ในท้องตลาด
ตัดสินใจฟ้องศาลเพื่อเอาผิดฐานละเมิดสิทธิบัตรกับบริษัท Samsung ในข้อหาว่าบริษัท Samsung ลอกเลียนแบบทั้งการดีไซน์ และ UI (User Interface) ของ iPhone และ iPad ซึ่งเป็นสินค้าของบริษัท Apple (ข้อกล่าวอ้างคือ Samsung Galaxy S เหมือน iPhone 3G/3Gs และ Galaxy Tab คล้ายคลึงกับ iPad) และหลังจากนั้นบริษัท Apple ก็ได้เดินหน้ายื่นฟ้องบริษัท Samsung ต่อในแต่ละประเทศ ตั้งแต่ ออสเตรเลีย เยอรมนี ญี่ปุ่น อังกฤษ และเกาหลีใต้ โดยศาลเกาหลีได้ตัดสินคดีออกมาว่าต่างฝ่ายต่างก็ละเมิดสิทธิบัตรซึ่งกันและกัน และทั้งสองฝ่ายจะต้องจ่ายค่าเสียหายด้วยจำนวนหนึ่ง
แต่อย่างไรก็ตามผลการตัดสินของศาลสหรัฐอเมริกาได้ออกมาว่าบริษัท Samsung แพ้คดีและมีความผิดฐานละเมิดสิทธิบัตรของบริษัท Apple โดยบริษัท Apple ชนะเกือบทุกข้อที่ยื่นฟ้องและบริษัท Samsung ต้องจ่ายเงินให้แก่บริษัท Apple เป็นจำนวน 1,051,885,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 32,000 ล้านบาท
ทั้งนี้มีหลักฐานที่ Google ได้เตือนบริษัท Samsung แล้วว่า Galaxy S หน้าตาเหมือนกับสินค้าของบริษัท Apple เกินไปโดยที่บริษัท Samsung ไม่ได้สนใจต่อคำท้วงติงนั้น และดำเนินการเพียงแค่ 3 เดือนในการลอกเลียนแบบโทรศัพท์ที่ได้ชื่อว่ามีชื่อเสียงที่สุดในโลก และนำออกขายในที่สุด ซึ่งถือได้ว่าบริษัท Samsung มีเจตนาที่จะละเมิดต่อสิทธิบัตรการออกแบบสินค้าของบริษัท Apple อย่างชัดเจน
กล่าวได้โดยสรุปคือทรัพย์สินทางปัญญาเป็นสิ่งที่ต้องได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย บุคคลหรือบริษัทใดที่เพิกเฉย ละเลยต่อข้อกำหนดในเรื่องนี้ และได้กระทำการเข้าข่ายที่จะเป็นการละเมิดต่อทรัพย์สินทางปัญญาโดยตั้งใจ บุคคลหรือบริษัทนั้นควรตระหนักถึงผลที่จะตามมาจากการเสี่ยงกระทำการเช่นนั้นด้วย
ซึ่งสุดท้ายฝ่ายละเมิดก็หนีไม่พ้นการชดใช้ค่าเสียหายให้แก่เจ้าของสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญานั่นเองบทเรียนที่สำคัญคือ ในยุคดิจิทัลที่ ไทยกำลังจะเปิดเสรีสื่อสาร อันมีวิทยุ โทรทัศน์ เป็นต้น เขาสู้กันแพ้ชนะ ที่เนื้อหา (content) และมูลค่าของเนื้อหาในรูปแบบ ของทรัพย์สินทางปัญญา
ทรัพย์สินทางปัญญาคืออะไร มีความสำคัญและประโยชน์อย่างไร คำถามเหล่านี้เป็นคำถามที่มักถูกพบบ่อยๆ ดังนั้นผู้เขียนเห็นว่าเราควรมาทำความเข้าใจกันถึงความหมายและความสำคัญของเจ้าตัวทรัพย์สินทางปัญญาเสียก่อนที่จะพูดต่อไปในประเด็นอื่นๆ ทรัพย์สินทางปัญญา หมายถึง ผลงานอันเกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ หรือการประดิษฐ์คิดค้น ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นทรัพย์สินอีกชนิดหนึ่งที่นอกเหนือจากสังหาริมทรัพย์ และอสังหาริมทรัพย์ทรัพย์สินทางปัญญาอาจเป็นสิ่งที่จับต้องได้ เช่น สินค้าต่างๆ หรือเป็นสิ่งที่จับต้องไม่ได้ เช่น แนวความคิด กรรมวิธี เป็นต้น
ในเรื่องของความสำคัญและประโยชน์ที่ได้รับจากความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญานั้นอธิบายอย่างง่ายๆ ได้ว่า ทรัพย์สินทางปัญญานั้นเป็นสิทธิต่างๆ แต่เพียงผู้เดียวที่ผู้สร้างสรรค์ (ผู้ทรงสิทธิ) ที่จะกระทำการบางอย่างเกี่ยวกับงานสร้างสรรค์ของตน ในทางทฤษฎีนั้นทรัพย์สินทางปัญญาเป็นสิทธิที่จะป้องกันมิให้ผู้อื่นมากระทำการใดๆ อันเป็นสิทธิของผู้สร้างสรรค์แก่งานสร้างสรรค์ รวมตลอดถึงสิทธิในการบังคับใช้สิทธิตามกฎหมายแก่ผู้ละเมิดสิทธิของผู้สร้างสรรค์ด้วยแนวความคิดนี้มีความสำคัญมากเพราะจะต้องใช้ในการให้คำตอบว่าผู้ทรงสิทธิสามารถกระทำการอย่างไรได้บ้างต่องานสร้างสรรค์ของตน หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง คือการที่ผู้ทรงสิทธิมีสิทธิกระทำการอย่างไรบ้างต่อบุคคลซึ่งละเมิดสิทธิของตน ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญมาก มิฉะนั้นระบบของทรัพย์สินทางปัญญาก็จะประสบความล้มเหลว
เราสามารถแบ่งทรัพย์สินทางปัญญาออกได้เป็น 2 ประเภทหลัก คือ 1. ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม และ 2. ลิขสิทธิ์สำหรับทรัพย์สินทางอุตสาหกรรมยังแบ่งออกได้อีก 5 ประเภท ได้แก่ (1) สิทธิบัตร (2) เครื่องหมายการค้า (3) แบบผังภูมิของวงจรรวม (4) ความลับทางการค้าและ (5) สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์
ในที่นี้ผู้เขียนจะขออธิบายเฉพาะในส่วนของสิทธิบัตรเนื่องจากประเด็นที่จะเขียนต่อจากนี้เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเรื่องสิทธิบัตรโดยตรง
สิทธิบัตร หมายถึง หนังสือสำคัญที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์ (Invention) การออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product Design) หรือ ผลิตภัณฑ์อรรถประโยชน์ (Utility Model) ที่มีลักษณะตามที่กฎหมายกำหนด
การประดิษฐ์ คือ ความคิดสร้างสรรค์เกี่ยวกับ ลักษณะองค์ประกอบ โครงสร้างหรือกลไกของผลิตภัณฑ์ รวมทั้งกรรมวิธีในการผลิตการรักษา หรือปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์
การออกแบบผลิตภัณฑ์ คือ ความคิดสร้างสรรค์เกี่ยวกับการทำให้รูปร่างลักษณะภายนอกของผลิตภัณฑ์เกิดความสวยงาม และแตกต่างไปจากเดิม
ผลิตภัณฑ์อรรถประโยชน์หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อนุสิทธิบัตร (Petty Patent) จะมีลักษณะคล้ายกันกับการประดิษฐ์ แต่เป็นความคิดสร้างสรรค์ที่มีระดับการพัฒนาเทคโนโลยีไม่สูงมาก หรือเป็นการประดิษฐ์คิดค้นเพียงเล็กน้อย
ในปัจจุบัน ประเทศต่างๆ ได้ใช้ทรัพยากรธรรมชาติในการผลิตอย่างบ้าคลั่ง จนทรัพยากร หลายชนิดหดหาย และหายากขึ้น แต่เป็นที่น่าคิดว่า ทรัพยากรที่มองไม่เห็น กล่าวคือ ความคิดสร้างสรรค์ การประดิษฐ์ และนวัตกรรม กลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาประเทศ ประเทศที่พัฒนาแล้วในปัจจุบัน ไม่ได้นับหรือวัดกันที่ทรัพยากรธรรมชาติ ตรงกันข้าม กลับเป็นนวัตกรรม หรือการสร้างสรรค์งานใหม่ ที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับประเทศ ยิ่งในยุคที่ประเทศของเราจะเปิดหน้าประวัติศาสตร์ใหม่ทางเศรษฐกิจ โดยการขยายตลาดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 ทรัพยากรที่มองไม่เห็น ยิ่งมีความสำคัญมากขึ้น ได้เวลาแล้วที่ เราควรหันมาใส่ใจในทรัพย์สิน ทางปัญญา ในฐานะที่สร้าง มูลค่าใหม่ มากกว่าการลอกเลียน ที่นับวันจะขาดความ ชอบธรรม และขาดตลาด
จากนี้ไปบริษัทต่างๆ คงต้องใส่ใจและให้ความสำคัญในเรื่องของการคุ้มครองด้านทรัพย์สินทางปัญญากันมากขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่จะเกิดตามมาที่ ให้รางวัลคนลอกเลียน มากกว่าคนสร้างสรรค์


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น